Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview Image Preview
ชี้แจงประเด็นข่าว เรื่อง รายงานดินถล่มที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
เรียนสำนักข่าวและสื่อมวลชน เรื่อง  รายงานดินถล่มที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
  1. เหตุที่เกิด : ดินถล่ม
  2. เวลาที่เกิดเหตุประมาณ : 18.00 น. วันที่ 20 มกราคม 2565
  3. สถานที่เกิดเหตุ : บริเวณซอยศรีสัมพันธ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
  4. ข้อมูลอาคาร : อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ จำนวน 17 หลัง ได้รับความเสียหายเหตุบ่อดินถล่ม เป็นอาคารที่ก่อสร้างเมื่อประมาณปี 2562
  5. ความเสียหาย
    ทรัพย์สิน  :  อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ จำนวน 17 หลัง
    เสียชีวิต :  ไม่มี
    บาดเจ็บ :  ไม่มี
    สูญหาย :  ไม่มี
  1. สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเหตุเกิดจาก :
    บ่อดินที่เกิดเหตุมีความลึกมากกว่า 20 เมตร มีคลองสาธารณะกว้างประมาณ 4 เมตร คั่นระหว่างบ่อดินกับพื้นที่บริเวณที่ตั้งอาคารที่ได้รับความเสียหาย พื้นที่ปากบ่อดินห่างจากคลองสาธารณะประมาณ 4.50 เมตร มีการขุดดินโดยทำเป็นลาดเนินดิน การขุดบ่อดินได้มีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายขุดดินและถมดินเมื่อประมาณปี 2559 และทำการขุดดินแล้วเสร็จเมื่อปี 2560 หลังจากนั้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมามีการขุดดินเพิ่มเติมโดยไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น สาเหตุการพังถล่มของบ่อดินน่าจะเกิดจากความลาดของเนินดินมีความชันมากเกินไป เพราะดินบริเวณจังหวัดสมุทรปราการเป็นดินอ่อนและมีการขุดดินอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิชาการ
  1. การดำเนินการเบื้องต้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง :
    กรมโยธาธิการและผังเมืองได้มอบหมายให้สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร ได้เข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวในเบื้องต้น ร่วมกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น. พบว่าบ่อดินบริเวณที่เกิดเหตุ เป็นที่ดินพื้นที่ปากบ่อดินรวมประมาณ 850,000 ตารางเมตร และมีความลึกจากระดับพื้นดินมากกว่า 20 เมตร มีระยะห่างจากพื้นที่ปากบ่อดินถึงเขตลำคลองสาธารณะประมาณ 4.50 เมตร ซึ่ง กฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 7 กำหนดให้การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากที่สาธารณะ เป็นระยะไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของความลึกของบ่อดินที่จะขุด อีกทั้ง ข้อ 5 ของกฎกระทรวงดังกล่าวยังกำหนดให้การขุดดินที่มีความลึกเกิน 20 เมตร ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยมีการติดตั้ง อุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินด้วย จากข้อเท็จจริงที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา แจ้งว่าพื้นที่บ่อดินบริเวณที่เกิดการวิบัติ มีการดำเนินการขุดดินมาก่อน และปัจจุบันไม่ได้มีการแจ้งการขุดดินตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด ซึ่งจากสภาพขนาดตรวจสอบพบว่าบ่อดินมูลกรณีอาจยังมีการดำเนินการขุดดินอยู่ 
  1. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น :
    กรมโยธาธิการและผังเมือง โดยสำนักงานควบคุมและตรวจสอบอาคาร ได้ให้คำแนะนำกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาให้มีคำสั่งตามมาตรตรา 31 ให้ ผู้ดำเนินการขุดดิน หยุดการขุดดินและแก้ไขความเสียหายจากการขุดดินดังกล่าว รวมทั้งต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ดำเนินการขุดดิน กรณีขุดดินโดยไม่แจ้งการขุดดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 17 และจากกรณีที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 6 และข้อ 7 กำหนดให้การขุดดินที่มีความลึกเกิน 20 เมตร ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน และการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร ปากบ่อดินห่างจากที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความลึกบ่อดินที่จะขุด ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 20 ที่กำหนดให้ผู้ขุดดินตามมาตรา 17 ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว
    ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองขอขอบคุณที่สำนักข่าวและสื่อมวลชนได้เสนอข่าวดังกล่าวทำให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนได้ทราบทันสถานการณ์ตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ที่มอบไว้มา ณ โอกาสนี้   นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
แท็ก
ฝัง
คัดลอก